โพสต์ยอดนิยม

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

คำศัพท์ที่มักเจอใน ข้อสอบ Gat / O-net (ต่อ)


8. Compliments
Compliments
I’d like to compliment you on......
I just love / really like your...
That’s a very smart ......../ pretty .....
You look very nice. It suits you well.
How clever of you to...
How superb!
How magnificent!
Compliment Responders
Oh, thank you./thanks.
(How) kind of you to say that.
That’s very kind of you.
Do you really think so?
You’ve made my day.
Thanks, I needed that
I’m flattered.
Oh, I’m glad you think so
That’s nice to hear.
Oh, really! Thank you, you’re so sweet.
Thank you. I’m glad you like it.
Oh, I wouldn’t say that.
It’s nice of you to say so.
But it really isn’t anything special.
Yours is even nicer.
It’s nice to hear that from someone with your
experience.
It was nothing.
The real credit should go to........
I had very little to do with it.
It wasn’t difficult at all, really.....
But it’s not really all that good.
But anyone else could do it

9. Agreement and Disagreement


Correct/ Incorrect
- Correct
That’s right. Right
Okay Correct
Yes Exactly
Absolutely
- Incorrect
No, I’m afraid not
Not, quite.
You’re close
Agree/Disagree
- Agree
I’ll say That’s for sure
You can say that again Over my dead body.
You said it. Right on!
Hear! Hear! You’re darn right.
I couldn’t agree more.
I can’t help thinking the same.
Definitely/ Precisely, my own view.
Dead right. / I bet you / You bet.
I’m in. / Count me in.
- Disagree
Are you kidding That’s ridiculous
Aw, come on! What!
Not true Down with …..
No way! Come on
Don’t give us that Get serious
What do you mean a ……..?
I couldn’t agree less.
Agree/Disagree (more politely way)
- Agree
That‘s true
That’s for sure
I agree with you there
Yeah, I know what you mean
- Disagree
Yes, but don’t you think ….
I agree with you, but …..
I don’t see it that way
Yeah, on the other hand
Reaction to Test Action
-Strong Agreement
Of course I would I certainly would
Most likely I would Sure I would
- Mild Agreement
Of course I would I certainly would
Most likely I would Sure I would
- Indecision
I don’t know I am not sure
I can’t decide I can’t make up my mind
I don’t know if I would or not
- Mild Disagreement
Probably not I don’t think so
I doubt it
-Strong Disagreement
No way Never (in a million years)
Not on one life Not even if you paid me
Not for all the money in the world



10. Accepting and Rejecting
Accept
I’m not surprised
That’s me
I knew it
I thought so
Right on!
That’s probably right
Reject
You’re kidding
I don’t believe it
No, definitely not
Are you pulling my leg?
Aw, come on!
That’s doesn’t fit
I don’t think so
I don’t think that’s fair



11. Permission
Asking for Permission
May / Could / can I.....?
I wonder if I can....
May I have a permission to...?
Would if be possible for me to ...?
Would it be okay with you if I ......ed?
Am I / Are people allowed to ....?
Is ...ing allowed / permitted here?
It is all right if I....?
Is it O.K. to ......?
Do they permit ......ing?
Could I possibly ....?
Will you let me....?
Giving Permission
Sure / Certainly / of course
By all means
Be my guest
Go ahead
It’s / line / all right / O.K. ... with me.
Would you mind if I....?
Would you object if I ....?
No. I wouldn’t / don’t
No, of course not / absolutely not / certainly not .No,
not at all
No, please do
Rejecting Permission
I don’t think / believe so.
I’m afraid not.
Not as for as I know.
I’d rather that you didn’t / not.
I’d prefer / you not to
I’d prefer it if you wouldn’t
I’d prefer that you not
No, you may not.
You’re not supposed to ... / shouldn’t / oughtn’t to
You mustn’t ... under any circumstances
I can’t do that with out an authorization
a go - ahead from....
the permission of...





รวมคำศัพท์ที่มักเจอในข้อสอบ o- net / Gat




1. GREETINGS
Good morning
Good afternoon
Good evening
How are you?
How’s life?
How’s it going?
Hi / Hello
How nice to see you
What a pleasant surprise
How are things (going)?
What’s going on?
How are you doing?
How’s everything (with
you)?
What’s up?
(It’s) nice to meet you
How are you getting on?
What’s new?
Howdy?
Alright mate!
What’s happening?
Meeting people after a long
time
How’ve you been?
Fancy meeting you! How
are things?
Long time no see! How is
everything?
We haven’t seen much of
you lately.
How nice to see you again.
You’re quite a stranger!
(I’m) fine, thanks. And you?
very well, thank you.
not too bad.
O.K. / all right.
so - so.
so far so good.
First meeting
How do you do?
Tips: Love

2. Conversation Openers

Pardon me
Excuse me
Sorry
Pardon me for interrupting,
but……
May I interrupt for a moment?
Interrupting on the phone
Am I interrupting?
Can you spare a minute?
Do you have a minute?
Are you free to talk?
Can you give me some advice?
Interrupting Monologues
Excuse me for interrupting,
but …..
Sorry, but …
In any case
I might add here
Anyway
May I ask a question?
I would like to comment on that.
May I say something here?
May I add something?
I’d like to say something.
To return to …
To get back to …
Where was I?
Going back to …
Interrupting to Add a Point
Hold it.
Wait a minute.
Pardon me, but…
I mught add that …
I have a point here.
I have a question,
I’d like to say something here.
May I add that …
Excuse me for interrupting,
but .



May I make a comment on that?
Question Openers
I’d like to know ….
I’m interested in ….
Could you tell me…
Do you know…
Could you find out ….
Could I ask….
Do you happen to know…..
Casual Interrupting
Well look You see
Listen Now Now really
Of course Look it You know
Digression Openers
(Moving off topic)
Speaking of
Speaking about
That reminds me
Before I forget
By the way
I just thought of something
Steering the conversation
Anyway
Let’s get back to
In any case
To return to
To get back to
What was I talking about
Returning to the topic
To get back to
Let’s get back to
Returning to
Going back to
Could we get back to
Tips: ยุ๊งยุ่ง
I’m tied up at the moment.
I don’t have time to breathe.
I don’t have time to scratch
my ass.




3. Awkward & Embarrassment Questions



Asking Awkward & Embarrassing Question
I hope you don’t mind me asking this...?
I’m sorry to have to ask this.
I hope you won’t take this the wrong way...?
I don’t like asking this...?
Perhaps I shouldn’t really ask this, ...?
I know It’s none of my business really, ...?
You don’t have to answer this if you don’t
want to...?
How to Refuse to Answer
I’d rather not answer that, if you don’t mind.
I’m sorry, but I don’t really think that’s any of
your business.
You don’t really expect me to answer that, do
you?
I’m not sure I really want to answer that.
What on earth do you mean?
What are you talking about?
I don’t follow you. I’m afraid



4. Non – Comprehension



I beg your pardon? (I’m afraid)
Pardon me?
Pardon?
What did you say?
What on earth do you mean?
What does “...” mean?
What is the meaning of “.....”?
I didn’t hear what you said.
get that
follow you.
I’m lost.
Can speak louder / more slowly?
Could you repeat that / say that again?
Again please!
What is.......?
5. Opinion Openers



Eliciting opinion
Do you like...?
What do you think of /
about...?
What is your opinion on....?
What is your opinion on...?
How do you find...?
A Simple Guess
I think Is it?
I’d say Could it be
I guess Perhaps it’s
An Educated Guess
I suspect It looks as if
I assume I take it that
It looks like
A Conviction
I strongly believe I believe
I honestly feel I’m positive
Without a doubt Undoubtedly
I’m convinced
A Personal Viewpoint
Not everyone will agree with
me, but
To my mind
In my estimation
In my opinion
Personally, I believe
I personally think
I personally believe
I personally feel
- Personal evaluation of case
As I see it
I understand this to be
It appears to me
As far as I can tell
- Public Relation
As I understand it
To the best of my knowledge
As far as I know
My understanding is
Personal Circumstances (how
something affect you)
In my case
What I’m concerned with is
Personally, I am more
interested in
For my own part
If I had my own way
Confidential Information
(Gossip)
Just between the two of us.
Keep this conversation
between you and me.
Don’t tell anybody!
Promise you won’t tell.
Don’t say I told you.
If I told you something, do you
promise not to tell?
This is off the record.
I’ve heard
They say
Just between you and me
Rumor has it
I hear from the grapevine
I hear they say
This shouldn’t be passed
around, but
I wouldn’t let this get out,
but
Maybe I shouldn’t say this,
but
I’ll keep this to myself.
Tips: Gossip
I’m going to fix/set you up.
His girlfriend pulls him
around by the ring in his nose.
He’s a pussy – whipped
It’s a real shot-gun
wedding.
They just broke up
It was a one-night stand.
It was just a one-nighter
My ears are burning. You
must talking about me.




6. Suggestions


Asking for Suggestions
How about + V. ing / N............?
What about + V. ing /
N.............?
Shall we + V1 ..............?
Why don’t we + V1 ..................?
Let’s + V1 ...............?
Do you feel like + V. ing .............?
Why not Why don’t you
I suggest you One way would
be to
Try You can always
Perhaps you could If I were
you, I would
Offering Suggestions
Let’s I have an idea
I suggest you Why not
How about I would
May I make a suggestion?
Perhaps you could
Why don’t you
Acceptance
That’s a good idea
That’s fine
That’d be fine
All right
O.K. Yes, let’s ..........
Refusal
I don’t think that’s a good idea
I’d rather not / No let’s not
I’m afraid I can’t. / Oh, no
please don’t bother
I’d love / like to but... / I’m sorry
but ...
It’s nice of you to ask but I
really don’t think I can
Giving advice
I suggest (that) you ...............
If I were you I would +
V1.................
I’d advise you to +
V1......................
You should / ought to / had
better + V1....................
I think it would be a good idea
to..................
It might be a good idea
to.....................
Acceptance
Yes, I’ll do that. Thanks for you
advice.
That’s a very good idea.
Yes, that sounds a good idea.
Yes, I will certainly try that.
Thanks.
Refusal
I’ve already tried that. Thank
you for your advice.
-I’m not sure, really. But thanks
anyway.
ASKING FOR ADVICE
Can you give me a little advice,
sir?
Could you possibly give me
more advice?
What shall I do about that?
I don’t know which one I should
take.
I don’t know whether to accept
it or not.
Can you tell me how to +
V1...............?
What would you do if you were
me?
What would you  suggest?
Have you got any idea?
Acceptance
Sure You should +
V1...........
By all means ought to
Well, certainly had better
If I were you, I’d do it
Refusal
I can’t find the way out just now.
I think it takes time to think
about that.
I’m sorry I can’t help you now.




Tips: เมื่อธรรมชาติมันเรียกร้อง
I want to go to peepee/poopoo.
Can I go to the bathroom?
I want to go to the restroom.
I want to go to the little boy’s room.
Number one or number two.
Mother nature is calling me.
I’ve got to go take a leak.
I’ve got to take a dump.
I’ve got to drop a load.
I’ve got to sit on the throne.
I’ve got the runs.
Someone whizzed all over the floor.



7. Asking about Thoughts & Feelings
What are you thinking about?
A penny for your thoughts.
What’s on your mind?
You have something on your mind?
What are you looking so serious about?
You seem a little preoccupied about
something..............
Is something bothering you?
Is there anything you want to talk about?
Want to talk about it?
How’s it going? Are you OK?
How do you feel about it?
Are you worried about something?
You seem to be in good spirits.
You look a little depressed about
something.......
You sound as if something wonderful just
happened.
Likes
It’s marvelous
Syn………………………………...
I’m very interested in…..
I’m very keen on…….
I think it’s great/ brilliant/ wonderful
Dislikes
Scary/ Spooky/ Suck/ Gross
I can’t bear/stand/……..
I can’t take it any more.
I’m fed up with .…….syn………..
I’ve had enough./ I’ve had it.
I hate its guts!
I’m through with it.
…………. really get(s) on my nerves.
…………. drive(s) me crazy
Politely reacting to dislike
I’m not very keen on....
I don’t practically like....
I’m not a fan of …
I have no idea how……
I’ve not got a clue how…..
I find it difficult.








วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

Pat 5 ( ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู)


 ใบประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา ©

     >>ความเป็นมา

   
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา
และผุ้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา เป้นวิชาชีพควบคุม ผุ้ประกอบวิชาชีพควบคุม
ที่จัดการศึกษาในสถานศึกษาปฐทวัย การศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา
ที่ตำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชนจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา จึงจะมีสิทธิประกอบ
วิชาชีพได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพ
และเป้นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น นอกจากนี้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มี
ีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะตาม พรบ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำ
ตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ด้วย

>>กลุ่มผู้มีสิทธิ์ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
          กลุ่มผู้มีสิทธิ์ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
          1.ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งออกให้กับข้าราชการครู และผู้ประกอบวิชาชีพครูโดยทั่วไป           
          2.ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งออกให้กับผู้อำนวยการสถานศึกษา และรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
          3.ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาซึ่งออกให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่นอกโรงเรียนและบุคคลที่จัดกลุ่มเป็น
เจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอและผู้ช่วย
ศึกษาธิการอำเภอและผู้ช่วยเดิม จัดกลุ่มเป็นเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) รองผอ.สพท. และผู้ช่วย
          4.ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่น เช่น ศึกษานิเทศก์ เป็นต้น 


>>ผู้มีสิทธิได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา


ผู้มีสิทธิได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. ให้ครูซึ่งเป็นสมาชิกของคุรุสภาตามพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 ก่อนวันที่ 12
มิถุนายน 2546 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มีผล
ใช้บังคับ และผู้ที่เป็นครูก่อนวันที่ 12 มิถุนายน 2546 ซึ่งเกษียณอายุราชการไปแล้ว เป็นผู้มีสิทธิ
ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู โดยื่นหลักฐานแสดงความเป็นครู และ เป็นสมาชิกคุรุสภาเพื่อ
ขอรับใบอนุญาต
    2. ให้ผู้เป็นครูหลังวันที่ 11 มิถุนายน 2546 (วันที่ 12 มิถุนายน 2546 เป็นต้นไป)
และครูอัตราจ้างที่มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือปริญญาอื่นที่ กค. กำหนดให้เป็น
คุณวุฒิที่ใช้ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครู ก่อนวันที่ 12 มิถุนายน 2546
เป็นผู้มีสิทธิได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ทั้งนี้ ภายในสามปี นับตั้งแต่วันที่
12 มิถุนายน 2546

(ผู้มีสิทธิ์ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ตามระเบียบ ข้อบังคับ

1. ครูซึ่งเป็นสมาชิกคุรุสภาตาม พ.ร.บ. ครู พ.ศ.2488 อยู่แล้ว ก่อนวันที่ 12 มิถุนายน 2546
2. ครูตามข้อ 1 ต่อมาลาออกหรือเกษียณอายุราชการหลังวันที่ 12 มิถุนายน 2546
3. ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งอยู่ก่อน
วันที่ 12 มิถุนายน 2546

  ในวาระเริ่มแรก จนถึง 3 ปี ที่ พ.ร.บ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 มีผลบังคับใช้
ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา มีสิทธิขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ครูและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ตามตำแหน่งของตนได้


4. ครูซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้ทำการสอนโดยได้รับเงินเดือน ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2546
และมีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือปริญญาอื่นที่ ก.ค. กำหนดให้เป็นคุณวุฒิที่ใช้ในการบรรจุและ
แต่งตั้งเป็นข้าราชการครู

5. ครูอัตราจ้างตามสัญญาจ้างที่มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือปริญญาอื่นที่ ก.ค. กำหนดให้เป็นคุณวุฒิ
ที่ใช้ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครู

6. ผู้ที่วุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือปริญญาอื่นที่ ก.ค. กำหนด ให้เป็นคุณวุฒิที่ใช้ในการบรรจุและแต่งตั้ง
7. ผู้ที่ได้รับปริญญาทางการศึกษาตามหลักสูตรที่สถาบันการศึกษาเปิดสอนอยู่ ในวันที่ 12 มิถุนายน 2546
และมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์

8. ผู้ที่ได้วุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรองผ่านการปฏิบัติการสอน
ในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินการ
ปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการคุรุสภา กำหนด และมีอายุไม่ต่ำกว่า
20 ปีบริบูรณ์ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 44 (ข) แห่ง พ.ร.บ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. 2546)

>>ยกเว้นค่าธรรมเนียมขอขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพ 
(ครูก่อน12 มิ.ย.46)
>>อัตราค่าธรรมเนียม สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทางการ

1. ค่าขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ฉบับละ 500 บาท
2. ค่าขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ฉบับละ 500 บาท
3. ค่าขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ฉบับละ 500 บาท
4. ค่าขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมอื่น ฉบับละ 500 บาท
5. ค่าต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ครั้งละ 200 บาท
6. ค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพ ฉบับละ 300 บาท
7. ค่าหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญ ฉบับละ 400 บาท
8. ค่าใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 200 บา

>>ขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพครู (คลิดดูแผนภูมิ)

     ผู้ยื่นขอใบอนุญาตฯ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 500 บาท และสามารถยื่นขอผ่านทางไปรษณีย์ได้ โดยเสียค่าเนียมรายการจำนวน 10 บาททั่วประเทศ แต่หากต้องการมายื่นด้วยตนเองที่คุรุสภาก็สามารถทำได้ สำหรับข้าราชการครูที่บรรจุใหม่จะต้องมายื่นขอใบอนุญาตฯ ที่คุรุสภาด้วยตัวเองเท่านั้น และเมื่อได้รับการตอบรับให้ได้รับใบประกอบวิชาชีพแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ได้รับใบอนุญาตฯ ตัวจริง บุคคลดังกล่าวก็ประหนึ่งเป็นผู้มีใบอนุญาตฯ แล้ว
>>วุฒิของผู้ที่ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได(คลิดเพื่อตรวจสอบ)
>>แบบฟอร์มการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูที่สำคัญ
1.แบบคำขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 
2.แบบบัญชีรายชื่อผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
3.หนังสือรับรองสิทธิ 
4.ใบแจ้งการชำระเงินค่าธรรมเนียมค่าขึ้นทะเบียนใบอนุญาตทางไปรษณีย์ 

Pat 5 ( มาตรฐานวิชาชีพ )


มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
                                                                                            สำนักมาตรฐานวิชาชีพ

                  
                   มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา   เป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖    กำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมทางการศึกษา   ตั้งแต่วิชาชีพครู  ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารการศึกษา  และบุคลากรทางการศึกษาอื่น (ตามที่ประกาศกำหนดในกฎกระทรวง)    จะต้องปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดีต่อผู้รับบริการ     อันถือเป็นเป้าหมายหลักของการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา    ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องศึกษาให้เกิดความรู้     ความเข้าใจที่ถูกต้องให้สามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพให้สมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงและได้รับการยอมรับ
                   คุรุสภา ดำเนินการตามหน้าที่ที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖     มาตรา ๙ (๑)   คุรุสภามีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพมาตรา ๙ (๑๑) (ฉ)  กำหนดให้คุรุสภามีหน้าที่ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ  และมาตรา ๔๙      กำหนดให้มีข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ   ประกอบด้วย  (๑)มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ  (๒) มาตรฐานการปฏิบัติงาน  (๓)  มาตรฐานการปฏิบัติตน
                  
                   มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา  คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่า เป็นบริการที่มีคุณภาพ ตอบสังคมได้ว่าการที่มีกฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชียวชาญในการประกอบวิชาชีพ
                   พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 49 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
                   1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
                   2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามลำดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือ การกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
                   3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1) ยกข้อกล่าวหา 2) ตักเตือน 3) ภาคทัณฑ์ 4) พักใช้ใบอนุญาตที่กำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี และ 5) เพิกถอนใบอนุญาต (มาตรา 54)
                    การดำเนินงานเพื่อให้ได้สาระสำคัญของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน หรือจรรยาบรรณของวิชาชีพ นั้น สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้ดำเนินการหลายรูปแบบตั้งแต่การศึกษาวิเคราะห์เอกสาร  งานวิจัย  หลักสูตรการผลิตครู  สำรวจความคิดเห็นของคณบดีคณะครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์ การประชุมสัมมนา ประชาพิจารณ์ ประชุมปฏิบัติการ  เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง    ทั้งผู้ผลิต   ผู้ใช้  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์  ได้ร่วมกันพิจารณากำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ   ประชุมพิจารณาแก้ไข  ปรับปรุงและพัฒนาร่วมกันต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนตุลาคม  ๒๕๔๗  จนถึงปีงบประมาณ  ๒๕๔๘   เพื่อให้มาตรฐานที่กำหนดสามารถใช้เป็นหลักประกันการประกอบวิชาชีพ  ที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษามีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ  เป็นหลักประกันแก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้

                      สรุปผลการดำเนินงานดังกล่าว ได้รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ  ดังต่อไปนี้
                   ๑. ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ     พ.ศ. ๒๕๔๘  ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒  ตอนพิเศษ ๗๖ ง ลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๘ 
                      ๒. ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา  เรื่องสาระความรู้และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู  ผู้บริหารสถานศึกษา  และผู้บริหารการศึกษา ตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ  
                   ๓.  สาระของมาตรฐานความรู้  มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ    สาระความรู้  สมรรถนะ  และมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์  เพื่อจัดทำเป็นประกาศคณะกรรมการคุรุสภา  เมื่อกฎกระทรวงการประกอบวิชาชีพควบคุม    กำหนดให้วิชาชีพศึกษานิเทศก์เป็นวิชาชีพควบคุม
                   ๔.  สาระของแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ  เพื่อจัดทำเป็นข้อบังคับคุรุสภา  ซึ่งอยู่ระหว่านำเสนอคณะกรรมการคุรสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบสาระสำคัญเพื่อนำไปจัดทำเป็นข้อบังคับต่อไป

                   งานตามภารกิจของคุรุสภาที่จะต้องดำเนินการต่อจากการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ตามที่คุรุสภากำหนด  คือ
                        ๑. งานรับรองปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการศึกษา ตามหน้าที่ของคุรุสภาที่กำหนดในมาตรา ๙ (๗)   แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งกำหนดให้คุรุสภามีหน้าที่รับรองปริญญา  ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่าง ๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ     โดยสถาบันการผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา   จะต้องผลิตผู้ที่จะประกอบวิชาชีพครู   ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารการศึกษา  และบุคลากรทางการศึกษาอื่น     ซึ่งเป็นวิชาชีพควบคุม   ให้ได้ผลผลิตตรงตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ที่คุรุสภากำหนด   ทั้งนี้   เพื่อให้ผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพมีคุณวุฒิและประสบการณ์ตามที่กฎหมายกำหนด               โดยคุรุสภาจะเข้าไปรับรองประปริญญาทางการศึกษา หรือประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการศึกษา ซึ่งจะเป็นการรับรองทั้งกระบวนการของปริญญา หรือประกาศนียบัตรบัณฑิต      เพื่อให้การรับรองถึงผู้สำเร็จการศึกษาจากปริญญาหรือประกาศนียบัตรบัณฑิต  ว่ามีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษา         บุคคลเหล่านั้นจึงจะสามารขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้  ผลการดำเนินงานได้
                   - สาระหลักเกณฑ์การรับรองปริญญาทางการศึกษา (หลักสูตร ๕ ปี)
                   - สาระหลักเกณฑ์การรับรองประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอน
                   - สาระหลักเกณฑ์การรับรองประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการบริหารการศึกษา 
                   - สาระหลักเกณฑ์การรับรองปริญญาโททางการสอน
                   - สาระหลักเกณฑ์การรับรองปริญญาโททางการบริหารการศึกษา
                   - มาตรฐานคุณสมบัติของสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน
                   - สาระมาตรฐานหลักสูตรการฝึกอบรมตามมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

                   ๒. งานรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามหน้าที่ของคุรุสภาที่กำหนดในมาตรา ๙(๘)  แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งกำหนดให้คุรุสภามีหน้าที่รับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ  รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ     โดยผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนดจะเข้าประกอบวิชาชีพครูซึ่งเป็นควบคุมไม่ได้       หากบุคคลเหล่านั้นต้องการจะประกอบวิชาชีพครู  จะต้องเข้าสู่กระบวนการรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ    โดยผ่านการประเมินและคุรุสภารับรองแล้วว่ามีความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ    เป็นไปตามมาตรฐานเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพครูได้  ทั้งนี้ เพื่อให้วิชาชีพทางการศึกษามีมาตรฐานเดียวกัน    และสามารถตอบสังคมได้ว่าผู้จะเข้าประกอบวิชาชีพต้องมีมาตรฐานทุกคน      ซึ่งวิธีการประเมินเพื่อรับรองจะดำเนินการได้ในหลายวิธี     เช่น  การทดสอบความรู้ การฝึกอบรม       การศึกษาต่อยอดในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอน    การเทียบโอนความรู้เพื่อให้การรับรองว่ามีมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูเป็นไปตามที่กำหนด ผลการดำเนินงานได้
                   - สาระหลักเกณฑ์การรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
                   - สาระหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชาวต่างประเทศ
                  
                   ๓. การรับรองความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ        ตามหน้าที่ของคุรุสภาที่กำหนดในมาตรา ๙(๘)  แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖     ซึ่งกำหนดให้คุรุสภามีหน้าที่รับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ โดยใช้มาตรฐานการปฏิบัติงาน         เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูพัฒนากระบวนการทำงาน   กลยุทธ์ในการปฏิบัติวิชาชีพทางการศึกษาของตนให้มีคุณภาพสูงขึ้น     รวมทั้ง พัฒนาให้เกิดความเชี่ยวชาญ  ลึกซึ้งเฉพาะด้านในการปฏิบัติวิชาชีพที่รับผิดชอบ  ซึ่งสามารถเข้ารับการประเมินเพื่อให้คุรุสภารับรองความชำนาญในการประกอบวิชาชีพได้ 

                   ๔. การควบคุมการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา         ตามหน้าที่ของคุรุสภาที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖      มาตรา ๙ (๒) ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ  มาตรา ๙ (๔) พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต          ซึ่งดำเนินการโดยยึดกรอบตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ  ผลการดำเนินงานได้              
                   - ร่างข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
                   - ร่างข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยการอุทธรณ์การประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
                  
หน้า ๓๙
เล่ม ๑๒๒  ตอนพิเศษ  ๗๖  ง                                ราชกิจจานุเบกษา                                        ๕  กันยายน  ๒๕๔๘


ข้อบังคับคุรุสภา
ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
  พ.ศ. ๒๕๔๘
--------------------------------

               อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑๑) (จ) (ฉ)  มาตรา ๔๙   และมาตรา ๕๐     แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับ มติคณะกรรมการ   คุรุสภา ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๘ วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘   และมติคณะกรรมการคุรุสภา   ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๔๘ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๘ โดยความเห็นชอบของ      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการคุรุสภาจึงออกข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ไว้ดังต่อไปนี้
              ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘
               ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
               ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้
               วิชาชีพ หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษาที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งการรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษา        ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐ และเอกชน และการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตลอดจน  การสนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
            ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
            ครู หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน

หน้า ๔๐
เล่ม ๑๒๒  ตอนพิเศษ  ๗๖  ง                                ราชกิจจานุเบกษา                                        ๕  กันยายน  ๒๕๔๘

            ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน
            ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
            บุคลากรทางการศึกษาอื่น หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษา    ในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา
            มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาหมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพ  ที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตาม ประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานการปฏิบัติตน
            มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา ซึ่งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องมีเพียงพอที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพได้
            มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะหรือการแสดงพฤติกรรมการปฏิบัติงานและการพัฒนางาน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม  เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา รวมทั้งต้องฝึกฝนให้มีทักษะหรือความชำนาญสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
            มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายความว่า จรรยาบรรณของวิชาชีพที่กำหนดขึ้น เป็นแบบแผนในการประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม อันจะนำมาซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
            ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการคุรุสภารักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัย ชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ


หน้า ๔๑
เล่ม ๑๒๒  ตอนพิเศษ  ๗๖  ง                                ราชกิจจานุเบกษา                                        ๕  กันยายน  ๒๕๔๘

หมวด ๑
มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
---------------------
ข้อ ๕  ผู้ประกอบวิชาชีพครู   ต้องมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
                        (ก) มาตรฐานความรู้ มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้
                              (๑) ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
                              (๒) การพัฒนาหลักสูตร
                    (๓) การจัดการเรียนรู้
                              (๔) จิตวิทยาสำหรับครู
                              (๕) การวัดและประเมินผลการศึกษา
                              (๖) การบริหารจัดการในห้องเรียน
                              (๗) การวิจัยทางการศึกษา
                              (๘) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
                              (๙) ความเป็นครู
                        (ข) มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา               ตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังต่อไปนี้
                              (๑) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
                              (๒) การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
            ข้อ ๖  ผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ต้องมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์    วิชาชีพ   ดังต่อไปนี้
                        (ก) มาตรฐานความรู้ มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้
                    (๑) หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา
                              (๒) นโยบายและการวางแผนการศึกษา
                              (๓) การบริหารด้านวิชาการ

หน้า ๔๒
เล่ม ๑๒๒  ตอนพิเศษ  ๗๖  ง                                ราชกิจจานุเบกษา                                        ๕  กันยายน  ๒๕๔๘

                              (๔) การบริหารด้านธุรการ การเงิน พัสดุ และอาคารสถานที่
                              (๕) การบริหารงานบุคคล
                              (๖) การบริหารกิจการนักเรียน
                              (๗) การประกันคุณภาพการศึกษา
                              (๘) การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
                              (๙) การบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชุน
                              (๑๐) คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
            นอกจากคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารสถานศึกษา               ที่คณะกรรมการคุรุสภารับรอง
                        (ข) มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
                              (๑) มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี หรือ
                              (๒) มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนและต้องมีประสบการณ์ในตำแหน่ง  หัวหน้าหมวด หรือหัวหน้าสาย หรือหัวหน้างาน หรือตำแหน่งบริหารอื่น ๆ ในสถานศึกษามาแล้ว    ไม่น้อยกว่าสองปี
            ข้อ ๗ ผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ต้องมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
                        (ก) มาตรฐานความรู้ มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา                 หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้
                              (๑) หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา
                              (๒) นโยบายและการวางแผนการศึกษา
                              (๓) การบริหารจัดการการศึกษา
                              (๔) การบริหารทรัพยากร
                              (๕) การประกันคุณภาพการศึกษา
                              (๖) การนิเทศการศึกษา
                              (๗) การพัฒนาหลักสูตร
                              (๘) การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
                              (๙) การวิจัยทางการศึกษา

หน้า ๔๓
เล่ม ๑๒๒  ตอนพิเศษ  ๗๖  ง                                ราชกิจจานุเบกษา                                        ๕  กันยายน  ๒๕๔๘

                              (๑๐) คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารการศึกษา
               นอกจากคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารการศึกษา               ที่คณะกรรมการคุรุสภารับรอง
                        (ข) มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
                              (๑) มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่าแปดปี   หรือ
                              (๒) มีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีหรือ
                              (๓) มีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาที่ไม่ต่ำกว่าระดับกองหรือเทียบเท่ากองมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีหรือ
                              (๔)  มีประสบการณ์ในตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น   ตามที่กำหนดใน  กฎกระทรวงมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี หรือ
                              (๕) มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอน และมีประสบการณ์ในตำแหน่ง            ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารนอกสถานศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามที่กำหนดใน  กฎกระทรวงรวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี
               ข้อ ๘ ผู้ประกอบวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
               ข้อ ๙ สาระความรู้และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

หมวด ๒
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
------------------

               ข้อ ๑๐  ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน   ดังต่อไปนี้
               (๑) ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
               (๒) ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
               (๓) มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
               (๔) พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
               (๕) พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

หน้า ๔๔
เล่ม ๑๒๒  ตอนพิเศษ  ๗๖  ง                                ราชกิจจานุเบกษา                                        ๕  กันยายน  ๒๕๔๘

               (๖) จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
               (๗) รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
               (๘) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
               (๙) ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
               (๑๐) ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
               (๑๑) แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
               (๑๒) สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
               ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา  และผู้บริหารการศึกษาต้องปฏิบัติงาน         ตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้
               (๑) ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา
               (๒) ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาของบุคลากร  ผู้เรียน  และชุมชน
               (๓) มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ
               (๔) พัฒนาแผนงานขององค์การให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
               (๕) พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
               (๖) ปฏิบัติงานขององค์การโดยเน้นผลถาวร
               (๗) รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ
               (๘) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
               (๙) ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์
               (๑๐) แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
               (๑๑) เป็นผู้นำและสร้างผู้นำ
               (๑๒) สร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์
               ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด




หน้า  ๔๕
เล่ม ๑๒๒  ตอนพิเศษ  ๗๖  ง                                ราชกิจจานุเบกษา                                        ๕  กันยายน  ๒๕๔๘

หมวด ๓
จรรยาบรรณของวิชาชีพ
--------------

               ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ

ส่วนที่ ๑
จรรยาบรรณต่อตนเอง
---------------

               ข้อ ๑๔ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

ส่วนที่ ๒
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
--------------

               ข้อ ๑๕ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

ส่วนที่ ๓
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
----------------

               ข้อ ๑๖ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม             ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
               ข้อ ๑๗ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัย         ที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์  และผู้รับบริการ  ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
               ข้อ ๑๘ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

หน้า ๔๖
เล่ม ๑๒๒  ตอนพิเศษ  ๗๖  ง                                ราชกิจจานุเบกษา                                        ๕  กันยายน  ๒๕๔๘

               ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
               ข้อ ๒๐ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและ  เสมอภาค      โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

ส่วนที่ ๔
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
----------------

               ข้อ ๒๑ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

 

ส่วนที่ ๕

จรรยาบรรณต่อสังคม
--------------------

               ข้อ ๒๒ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของ ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ประกาศ  ณ  วันที่  ๓๑   สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์
ประธานกรรมการคุรุสภา